ออกแบบผลการเรียนรู้และเกณฑ์การประเมินที่ดีทำได้อย่างไร

  • ปรับปรุงเมื่อ

การออกแแบบผลการเรียนรู้ หรือ Learning Outcome ที่ดี จะต้องมี 3 สิ่งนี้

✅ต้องรู้จักกลุ่มผู้เรียน (Who your learner is?)
✅ต้องสามารถบอกถึงสิ่งที่ผู้เรียนต้องทำได้ และต้องวัดผลได้ (What can they do? And how will you measure it?)
✅ต้องสามารถบอกระดับของการทำได้ทำเป็น (How well can they do?) 

การวัดผลต้องอาศัยเครื่องมือหรือวิธีการที่สามารถยืนยันได้ว่าผู้เรียนบรรลุ (achieve) Learning Outcome ได้จริง ดังนั้นเครื่องมือที่นิยมนำมาใช้ควบคู่กันเรียกว่า เกณฑ์การประเมิน หรือ Rubrics

Rubrics คือเกณฑ์การประเมินที่แบ่งออกเป็นระดับการทำได้พร้อมทั้งมีคำอธิบายระดับกำกับ ประโยชน์ของการใช้ Rubrics เป็นเครื่องมือสำหรับวัดผลนั้นมีความง่ายหากคำอธิบายของแต่ละระดับบอกไว้อย่างชัดเจน อาจารย์ก็สามารถประเมินผลงานของนักศึกษาได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ดังนั้นการออกแบบ Rubrics ให้ชัดเจนและตรงประเด็นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งในปัจจุบันมี Rubrics 2 ประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย คือ Holistic rubrics และ Analytic rubrics
คือ เกณฑ์การประเมินในภาพรวมที่ไม่ได้แยกย่อยองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องการวัดอย่างละเอียด โดยจะวัดเพียง output แบบกว้างๆ การออกแบบ Holistic rubrics จะจำแนกระดับการทำได้ 3-5 ระดับ และมีคำอธิบายของแต่ละระดับ ซึ่งการออกแบบ Rubrics ประเภทนี้ใช้เวลาไม่นาน เพราะเป็นการให้คำจำกัดความของระดับ performance ที่ทำได้โดยรวมว่าทำได้ในระดับใด เหมาะกับการวัด Learning outcome ที่ไม่ได้มีองค์ประกอบมาก แต่ Rubrics ประเภทนี้อาจจะขาดรายละเอียดที่เอาไว้ใช้วัดระดับการทำได้ในแต่ละองค์ประกอบต่างๆ ถึงแม้ว่าคำอธิบายบอกระดับจะชัดเจนเพียงใด แต่การวัดผลเป็นระดับก็ไม่ได้แตกลักษณะเฉพาะ (characteristics) ออกเป็นสัดส่วนเพื่อลงรายละเอียดมากนัก เช่น อาจารย์ประเมินผลการทำได้ของผู้เรียนไว้ที่ระดับ 2 โดยที่ผู้เรียนอาจจะไม่รู้ว่าอะไรที่ทำให้เขาทำได้เพียงแค่ระดับ 2 กันแน่

ตัวอย่าง Holistic rubrics การนำเสนอข่าวเป็นภาษาอังกฤษระดับ C1
Level 1

ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อนำเสนองานได้ตรงตามระดับ รูปแบบการนำเสนอเบสิค การออกเสียงถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

Level 2

ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อนำเสนองานได้ตรงตามระดับ รูปแบบการนำเสนอสร้างสรรค์ มีลูกเล่น การออกเสียงถูกต้องตามหลักไวยากรณ์

Level 3

ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อนำเสนองานได้ตรงตามระดับ รูปแบบการนำเสนอแปลกใหม่ การออกเสียงถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ มีความมั่นใจในการนำเสนอ

Level 4

ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อนำเสนองานได้ตรงตามระดับ รูปแบบการนำเสนอ Advance การออกเสียงถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ชัดเจน และมีความมั่นใจในการนำเสนอ

Level 5 ผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อนำเสนองานได้ตรงตามระดับ รูปแบบการนำเสนอยิ่งใหญ่ การออกเสียงถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ชัดเจนเหมือน native และมีความมั่นใจในการนำเสนอ
คือเกณฑ์การประเมินที่แยกย่อยองค์ประกอบของสิ่งที่ต้องการวัดอย่างละเอียด การออกแบบ Analytic rubrics จะจำแนกลักษณะเฉพาะออกเป็นสัดส่วน พร้อมทั้งกำหนดระดับการทำได้ประกอบการอธิบายอย่างชัดเจนว่าทำได้อย่างไรในแต่ละระดับ ส่วนใดที่ทำได้ดี และส่วนใดที่ต้องปรับปรุง ซึ่งการออกแบบ rubrics ประเภทนี้เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียนตรงที่ ผู้เรียนสามารถเข้าใจได้เลยว่าทำไมตนเองจึงได้คะแนนเพียงเท่านี้ ทำได้ดีในส่วนไหน และต้องปรับปรุงในเรื่องใด


ตัวอย่าง
Analytic rubrics การนำเสนอข่าวเป็นภาษาอังกฤษระดับ C1

รายการ ปรับปรุง (1)

พอใช้ (2)

ตามคาดหวัง (3) ดี (4)

ดีเยี่ยม (5)

เนื้อหา

มีคำที่สะกดผิด เขียนผิดหลักไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ
สรุปไม่ตรงประเด็น

ไม่มีคำที่สะกดผิดและไม่ผิดหลักไวยากรณ์ สรุปไม่ตรงประเด็น ไม่มีคำที่สะกดผิดและไม่ผิดหลักไวยากรณ์ สรุปตรงประเด็น

ไม่มีคำที่สะกดผิด
และไม่ผิดหลักไวยากรณ์
สรุปตรงประเด็น
มีการแสดงความคิดเห็นเหมือนหรือเห็นต่างกับเนื้อหา (Agree/
Disagree)

ไม่มีคำที่สะกดผิดและไม่ผิดหลักไวยากรณ์ สรุปตรงประเด็น
มีการแสดงความคิดเห็นเหมือนหรือเห็นต่างกับเนื้อหา (Agree/
Disagree) มีตัวอย่างเปรียบเทียบอย่างชัดเจน
รูปแบบการนำเสนอ One way communication ไม่เปิดโอกาสให้มี interaction ระหว่างนำเสนอ

มี interaction น้อย

 

Storytelling เป็นธรรมชาติ มี interaction ตลอดการนำเสนอ

 

Storytelling & Discussion สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง

 

Storytelling & Discussion สร้างบรรยากาศการมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง นำแอปพลิเคชันเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือ (Tool) ในการนำเสนอ มี Theme การแต่งกาย

 

การออกเสียง ไม่ชัดเจน ตะกุตะกัก ไม่ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ชัดเจนแต่ตะกุกตะกัก ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ ชัดเจนและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ พูดเป็นธรรมชาติ ชัดเจนและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ พูดเป็นธรรมชาติ การเว้นจังหวะดี ชัดเจนและถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ พูดเหมือน native

อาจารย์สามารถสร้าง Holistic rubrics และ Analytic rubrics ได้อย่างไรบน LEB2 ?

ที่ฟีเจอร์ Plan อาจารย์สามารถมาสร้าง Holistic rubrics ได้ โดยใส่ Learning Outcomes ที่ต้องการใช้วัดผล จากนั้นใส่คำอธิบายของ Level ที่นักศึกษาต้องทำได้ในแต่ละระดับ ซึ่งระบบจะมี default ไว้ที่ Level 3 ซึ่งเป็นระดับที่คาดหวังว่านักศึกษาจะต้องทำให้ได้อย่างน้อยในระดับ 3

จากตัวอย่าง Holistic rubrics การนำเสนอข่าวเป็นภาษาอังกฤษระดับ C1 ข้างต้น สามารถนำมาใส่ในหน้า Plan ได้ ดังนี้ด้านล่างนี้

mceclip0.png

mceclip2.png

 

และสำหรับ Analytic rubrics ก็สามารถสร้างได้เช่นกัน ในส่วนนี้จะเรียกว่า “เกณฑ์การประเมิน” ในหน้า Assessment Activity ซึ่งจะเป็นหน้าที่ทั้งอาจารย์และนักศึกษาเห็นข้อมูลชุดเดียวกัน การสร้างเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจนมากพอจะช่วยให้นักศึกษาเข้าใจ และรู้จุดที่ต้องพัฒนาและปรับปรุงได้ทันที โดยที่อาจารย์ไม่ต้องมาอธิบายทีหลังว่าทำไม Assignment นี้ถึงทำได้คะแนนเท่านี้ มีสาเหตุมาจากอะไร

จากตัวอย่าง Analytic rubrics การนำเสนอข่าวเป็นภาษาอังกฤษระดับ C1 ข้างต้น สามารถนำมาใส่ในหน้า Assessment Activity detail ได้ ดังนี้ด้านล่างนี้

mceclip3.png

 

แหล่งอ้างอิง

บทความนี้มีประโยชน์หรือไม่

31 จาก 57 เห็นว่ามีประโยชน์

มีคำถามเพิ่มเติมหรือไม่ ส่งคำร้องขอ